News

5 วิธีในการรักษาฝ้าที่คุณควรศึกษาก่อนการตัดสินใจ

Jun 2020

ฝ้าเป็นปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อย สามารถเกิดได้กับทุกคน มีลักษณะเป็นแถบสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเทาบนใบหน้า ขนาดตั้งแต่ 0.5 cm - 10 cm ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้าได้นั่น ตัวอย่างเช่น แสงแดด พันธุกรรม ฮอร์โมน และการระคายเคือง โดยเซลล์ Melanocytes จะใช้เอนไซม์ tyrosinase บนผิวหนังเพื่อสร้างเม็ดสี (Melanin) ไปยังเซลล์ล่างสุดของผิวหนังกำพร้า ที่เรียกว่าKeratinocytes

ฝ้ามี 2 ชนิด คือ 1. ฝ้าลึก อยู่ชั้นหนังแท้ 2. ฝ้าตื้น อยู่ชั้นหนังกำพร้า และความเข้มของเม็ดสีมากน้อยต่างกันไป นพ. ณัฐภัทร มีนชัยนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ความงาม ชะลอวัยและเลเซอร์ จาก Alpha Medical Clinic แนะนำวิธีการรักษาฝ้า ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. การรักษาด้วยการทา

ยาที่ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (Tyrosinase inhibitor) เช่น สารฟอกขาว (Hydroquinone) สารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งกลไกการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง (Melanin) มักใช้ผสมกับสารอื่นๆ เพื่อการป้องกันการเกิดเม็ดสีขึ้นใหม่ เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีกับฝ้า แต่ผลข้างเคียงของสาร Hydroquinone อาจทำให้ระคายเคืองและเกิดฝ้าถาวร (Ochrnonosis) แม้ว่าปัจจุบันองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) สั่งห้ามขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่ด้วยประสิทธิภาพที่ดี จึงทำให้หลายๆ ประเทศยังคงใช้อยู่ นอกจากนี้ยังมียาทาอื่นๆ มาทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Koji, Arbutin ซึ่งมีกลไกยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้เช่นกัน

2. การรักษาด้วยการรับประทาน

  1. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed extract - GSE) ที่อุดมไปด้วย Proanthocyanidin สารสำคัญที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้ดีมากกว่ารับประทานวิตามินซี
  2. Transamin มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาฝ้าสำหรับผิวในชาวเอเชีย แม้ว่าจะใช้รับประทานในปริมาณที่ต่ำกว่า 500 มก. /วัน เพียง 8-12 สัปดาห์ก็สามารถเห็นผลได้จริง แต่ทั้งนี้ควรระมัดระวังสำหรับข้อห้ามและปัจจัยเสี่ยงก่อนที่จะเริ่มการรักษา
  3. นอกจากนี้ยังมียามากมายในการช่วยยับยั้งเม็ดสี เช่น NAC (N-Acetyl Cysteine) ช่วยเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในกระแสเลือดได้ เป็นต้น

3. การรักษาด้วยการฉีดยา

  1. ยาฉีดผิวหนังตำแหน่งฝ้า Tranexamic acid บริเวณที่เกิดฝ้า มีกลไกในการยับยั้งเม็ดสี เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเห็นผลได้เร็ว แต่ข้อเสียคือฝ้ามีโอกาสกลับมาเกิดขึ้นซ้ำบริเวณเดิมที่รักษาหายไปแล้ว
  2. การฉีดกลูตาไธโอน (GSH) ทางหลอดเลือดดำ กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีที่ทรงพลัง สามารถยับยั้งการทำงานของ Tyrosinase ลดความเข้มของสีผิว แต่มีรายงานว่าการใช้ยาทางหลอดเลือดดำของ GSH อาจส่งผลรุนแรงต่อผู้ที่ได้รับยา จะมีโอกาสเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จากการแพ้ รวมถึงกลุ่มอาการผิดปกติผิวหนังและเยื่อบุอย่างรุนแรง (Steven-Johnson Syndrome)

4. การรักษาด้วยเลเซอร์

เลเซอร์ที่ใช้ในการรักษาฝ้าสามารถใช้ได้หลากหลายชนิด ตามดุลย์พินิจของแพทย์ผู้รักษา มีหลายกลุ่ม เช่นการปรับคุณสมบัติผิว Photoacoustic (หรือกลุ่มQ-Switch เป็นเทคโนโลยี ดั้งเดิม ใช้กำจัดเม็ดสีมากว่า 50 ปี, Pico Laser) มีพลังงานมหาศาลในการทำลายเม็ดสีผิวและสามารถกลืนกินทำลายสิ่งแปลกปลอมในเซลล์ Macrophages ได้อีกด้วย หรือ การใช้แสง IPL ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 515-1,200 นาโนเมตร ในบริเวณที่เกิดฝ้า หรือ การใช้เลเซอร์ที่มีแสงสีเหลืองมีความยาวคลื่น 577- 595 นาโนเมตร มีเป้าหมายเพื่อลด VEGF (Vascular Endothelial Growth Factor) อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝ้าและเม็ดสีที่ผิดปกติ และ การใช้ Short Pulse laser ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณสมบัติในการทำลายเม็ดสี ซึ่ง laser เหล่านี้สามารถกำจัดการสร้าง Melanin ลดการกระตุ้นการผลิตเมลานินเพิ่ม

ข้อควรรู้ของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ การรักษาฝ้าได้ด้วยการเลเซอร์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ผลดีมากนัก เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิด Post-Inflammatory Hyperpigmentation (PIH) คือ รอยดำหลังการอักเสบมักเกิดจากการทำเลเซอร์ชนิดที่ทำให้ผิวหน้าตกสะเก็ด หรือฝ้ากลับมา และมีสีเข้มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นควรรักษาร่วมกับวิธีการอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

5. การรักษาด้วยการลอกผิว

การผลัดเซลล์ผิว (peeling) เป็นการรักษาที่มีความสำเร็จยาวนานกว่า 500 ปี มีการพัฒนาตัวยาชนิดต่างๆ ไปมาก ความสำเร็จสูง ได้ผลลัพธ์ที่ยาวนานขึ้น นิยมใช้ในตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา โดยปัจจุบันมีการเริ่มการใช้ Alpha Hydroxy Acids (AHA) เป็นส่วนผสมหลักเพื่อกำจัดเซลล์ที่ตายแล้วจากผิวหนังชั้นบน, เพิ่ม Fibroblast, ทำลายเม็ดสีให้เม็ดสีที่สร้างใหม่สม่ำเสมอ, ช่วยรักษาแผลเป็นทำให้ผิวเรียบเนียน และ ช่วยลดเรือนริ้วรอย

การผลัดเซลล์ผิวจะคล้ายคลึงกับการรักษาด้วยเลเซอร์ คือจะเร่งการกำจัดการสร้างเม็ดสี (Melanin) เท่านั้น แต่จะไม่ไปกระตุ้นการผลิตสร้างเม็ดสี

สารที่ใช้หลักๆ เป็นกลุ่ม Gycolic acid, salicylic acid, TCA, รวมถึง การ Whitening peel ด้วยสาร arbutin เป็นการผสมผสานระหว่างตัวยับยั้ง Tyrosinase หลังทำควรป้องการกลับมาเป็นซ้ำหรือ ป้องกันการก่อตัวของเม็ดสี ด้วยยากันแดดที่มีสาร Titanium Dioxide 20% ขึ้นไป

ทั้งนี้ยาที่ใช้รวมไปถึงระยะเวลา ต้องขึ้นกับวิธีของแพทย์ผู้รักษา และแปรผันตามสภาพผิวของแต่ละบุคคล การรักษาที่ดี ควรรักษาแบบผสมผสานทั้งยับยั้งการผลิต Melanin และ หรือการถ่ายโอน Melanosome และควบคู่กับการกำจัด Melanin แบบเร่งด่วน

การทาครีมกันแดดที่มี PA++++ ,SPF 50+, มอยส์เจอไรเซอร์ และใช้อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เช่น หมวก, แว่นกันแดด เพื่อป้องกันกลไกการเกิดรอยดำ และเพื่อไม่ให้ฝ้ากลับมาเกิดซ้ำอีก


นพ.ณัฐภัทร มีนชัยนันท์

ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ความงาม ชะลอวัยและเลเซอร์จาก Alpha Medical Clinic

การรักษาฝ้า ควรรักษากับแพทย์ที่เข้าใจฝ้าและเข้าใจคุณ เพราะผิวหน้าและปัญหาของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แพทย์จะวางแพทย์การรักษาให้คุณ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด คุณไม่ควรรักษาเอง นอกจากทำให้ฝ้าไม่หายแล้ว ยังทำให้ผิวหน้าเสียหายอีกด้วย

Office Hours

Mon-Sun : 10am - 8pm


Location

2597, 2599 Lat Phrao (93) Road Wangthonglang, Wangthonglang Bangkok 10310